วันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ประวัติอ.ดำเนินสะดวก

อำเภอดำเนินสะดวก
ประวัติอำเภอดำเนินสะดวกเริ่มขึ้นก่อน พ.ศ. 2400 พื้นที่มีสภาพเป็นที่ราบลุ่มมีป่าดงไผ่และต้นเสือหมอบ เมื่อถึงฤดูน้ำหลากจะท่วมพื้นที่เกือบทั้งหมดของอำเภอสภาพท้องที่สมัยไม่มีลำคลองมากมายเช่นในปัจจุบัน ในสมัยรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่าเนื้อที่ดินในเขตอำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี และอำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาครเป็นพื้นที่ดินราบลุ่มมีอาณาบริเวณหลายหมื่นไร่ หากให้ขุด คลองขึ้นโดยผ่านพื้นที่ทั้งสองอำเภอก็จะเกิดประโยชน์มากมาย แก่ราษฎรที่จะเข้ามาจับจองที่ดินประกอบการเกษตร ลำคลองนี้จะเป็นเส้นทางลำเลี่ยงสินค้าเข้าสู่ตัวเมืองหลวงได้สะดวกเป็นเส้นทางคมนาคมระหว่างกรุงเทพ กับจังหวัดราชบุรี การขุดคลองเริ่มต้นจากจุดริมแม่น้ำท่าจีน ตำบลบางยาง อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร เป็นเส้นตรง ผ่านตำบลโคกไผ่ ( ปัจจุบันคือตำบลดอนไผ่) และขุดผ่านเข้ามาในเขตอำเภอปากคลองแพงพวย ( อำเภอดำเนินสะดวกเดิม) จนถึงแม่น้ำแม่กลองที่ปากคลองบางนกแขวก คลองนี้ได้ทำการขุดสำเร็จเมื่อ พ.ศ. 2410 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร. 5) ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กระทำพิธีเปิดใช้คลองเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2411 อำเภอดำเนินสะดวก ตั้งอยู่ที่ปากคลองลัดราชบุรีถึง พ.ศ.2455 ทางราชการจึงได้ย้ายไปตั้งอยู่ที่ตำบลรางยาวฝั่งตะวันออก เหตุที่ย้ายที่ว่าการอำเภอ เนื่องจากสถานที่เดิมคับแคบไม่เหมาะแก่การขยายสถานที่ราชการอำเภอดำเนินสะดวก เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดราชบุรี อยู่ทางทิศตะวันตกของตัวจังหวัด ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลดำเนินสะดวก มีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 198.97 ตารางกิโลเมตร

ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี และอำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอบางคนที และอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอบางแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม

ประวัติอ.บางแพ

อำเภอบางแพ
ที่ได้ชื่อว่า " บางแพ " ได้ความว่า เมื่อสมัยก่อนท้องที่อำเภอนี้เป็นที่ลุ่มจดชายทะเลเต็มไปด้วยป่าพง ป่ากก มีผู้คนอาศัยน้อย ถึงฤดูน้ำจะมีผู้คนพากันขึ้นไปตัดไม้ทางป่า ผูกเป็นแพล่องลงมาตามลำน้ำไป ขายทางชายทะเล การเดินทางจะต้องนำแพไม้มาจอดพัก ค้างแรมที่บ้านบางแพนี้ เมื่อมีผู้คนมาตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัยน้อย จึงพากันเรียกที่แห่งนี้ว่า " บางแพ " เมื่อได้ตั้งที่ว่าการอำเภอขึ้นที่ตำบลบางแพจึงได้ชื่อว่า "อำเภอบางแพ" ตามสถานที่ตั้ง อำเภอบางแพตั้งขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2457 โดยแบ่งตำบลต่างๆ ของ อำเภอบ้านโป่ง อำเภอโพธาราม และอำเภอดำเนินสะดวก รวม 17 ตำบล จัดเป็นตำบลขึ้นใหม่แล้วยกฐานะเป็นอำเภอ ในปี พ.ศ. 2460 ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอมาอยู่ที่บริเวณวัดหัวโพ ตำบลหัวโพ อาศัยศาลาการเปรียญซึ่งเป็น ศาลาดิน เป็นที่ตั้งที่ว่าการอำเภอชั่วคราว และได้เปลี่ยนเป็น " อำเภอหัวโพ " ครั้นในปี พ.ศ. 2461 ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอจากตำบลหัวโพมาตั้งที่บ้านหมู่ที่ 5 ตำบลบางแพ อยู่ฝั่งตะวันออกของลำคลองบางแพ ณ ที่ดังกล่าวได้เปลี่ยนชื่ออำเภอเป็น " อำเภอบางแพ"


อาณาเขต

ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลสระกระเที่ยม ตำบลบางแขม อำเภอเมืองนครปฐม
ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลบ้านไร่ ตำบลบัวงาน อำเภอดำเนินสะดวก
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม และอำเภอเมืองบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี

ลักษณะภูมิประเทศ
เป็นที่ราบลุ่มทั่วไป ไม่มีป่าและเขา สภาพทั่วไปอากาศโปร่งเย็น มีความชุ่มชื่นพอสมควร ลำน้ำสำคัญที่เป็นประโยชน์ในด้านการเกษตร คือ ลำคลองบางแพ เริ่มต้นจาก ตำบลคลองตาคต อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี ผ่านอำเภอบางแพ ในท้องที่ตำบลวังเย็น และในท้องที่ตำบลบางแพ เนื่องจากอำเภอ นี้เป็นที่ราบลุ่ม ทรัพยากรธรรมชาติจึงมีปลาและสัตว์น้ำตามแม่น้ำลำคลอง

พื้นที่ มีเนื้อที่รวมทั้งสิ้น 182 ตารางกิโลเมตร
อำเภอเมืองเรืองราชบุรี เดิมเป็นที่ตั้งเมืองเรียกว่า " เมืองราชบุรี " มีฐานะเป็น มณฑลราชบุรี อันเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักร " ทวาราวดี " ของชนชาติลาว เล่ากันว่า เมืองราชบุรีนี้ ตัวเมืองเดิมตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านไร่ (เดิมชื่อตำบลอู่เรือ ) อำเภอเมืองราชบุรี ในปัจจุบัน ต่อมาเมืองราชบุรี ได้ร้างไปประมาณ 300 - 400 ปี ภายหลังพระเจ้าอู่ทอง ได้สร้างเมืองราชบุรีขึ้นใหม่ทีวัดมหาธาตุวรวิหาร ซึ่งอยู่ทางทิศเหนือของศาลากลางจังหวัดหลังเก่า ฝั่งขวาของแม่น้ำแม่กลอง ต่อมา เมื่อ พ.ศ. 2360 ( ร.ศ. 36 ) ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงโปรดเกล้าให้ย้ายเมืองราชบุรี มาตั้งอยู่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำแม่กลอง คือที่ตั้งจังหวัดทหารบกราชบุรี ครั้นปี พ.ศ. 2440 (ร.ศ. 116 ) ได้เริ่มจัดระเบียบการปกครองท้องที่ ในครั้งนั้น ได้แบ่งการปกครองท้องที่ออกเป็น 5 อำเภอ เฉพาะอำเภอเมืองราชบุรี เดิมตั้งอยู่ที่ตำบลธรรมเสน อำเภอโพธาราม ในครั้งนั้น จึงเรียกว่า " แขวง" ต่อมา พ.ศ. 2441 จึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอจากตำบลธรรมเสนมาตั้งที่ถนนอัมรินทร์ ตำบลหน้าเมือง มีพระแสนท้องฟ้า ( ป๋อง ยมคุปต์ ) เป็นนายอำเภอ ครั้นต่อมาบริเวณที่ที่ว่าการอำเภอเมืองราชบุรี ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเป็นศูนย์การค้า จึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอเมืองราชบุรี ไปปลูกสร้างใหม่ณ บริเวณที่มีโครงการจัดตั้ง เป็นศูนย์ราชการปัจจุบัน

อาณาเขต

ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอโพธารามและอำเภอบางแพ
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอวัดเพลงและอำเภอปากท่อ
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอดำเนินสะดวกจังหวัดราชบุรี และอำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอจอมบึงและอำเภอปากท่อ

พื้นที่ อำเภอเมืองราชบุรี มีเนื้อที่ประมาณ 454.239 ตารางกิโลเมตร

สถานีรถไฟอ.บ้านโป่ง ปี2488

ภาพถ่าย สถานีรถไฟบ้านโป่ง เดือนกันยายน 2488
สถานีรถไฟบ้านโป่งอยู่ห่างจากสถานีหนองปลาดุก 5 กิโลเมตร เป็นจุดแรกเริ่มของการเดินเท้าของการก่อสร้างเส้นทางรถไฟไทย-พม่า ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 นักโทษเชลยศึกสงครามที่เดินทางมาจากสิงค์โปร์ต้องมาสิ้นสุดที่ สถานีรถไฟบ้านโป่ง หลังจากนั้น พวกเชลยศึกจะเริ่มต้นเดินเท้า มาที่ค่ายของพวกเขาตามเส้นทางก่อสร้างรถไฟ บางคนโชคดีเดินทางระยะสั้นโดยรถบรรทุก แต่ที่เดินเท้ามามากที่สุด ได้แก่ กองกำลังเอฟ ("F" Force) ถูกบังคับให้เดินเป็นระยะทางกว่า 300 กิโลเมตร โดยกินระยะเวลาเพียงแค่ 20 วัน การเดินเท้าส่วนมากจะเดินในตอนกลางคืน เพื่อหลีกเหลี่ยงอากาศที่ร้อนจัดของเดือนมีนาคม
ที่มา : เจ พี. (______). เส้นทางรถไฟสายมรณะ สะพานข้ามแม่น้ำแคว

ภาพเก่าบ้านโป่ง

ขบวนแห่ศพของคุณสุกานดา วังตาล ผ่านถนนทรงพล กลางเมืองบ้านโป่งเมื่อ 30 กว่าปีที่แล้ว
เจ้าของภาพ : มนัส-วรนุช พงษ์วัฒนา

น้ำท่วมบ้านโป่ง ไม่ทราบว่าปีใด
เจ้าของภาพ : ผู้ใหญ่สอางค์ พรหมอินทร์
หมู่ข้าราชการถ่ายภาพร่วมกันหน้าโรงเรียนเทศบาล 1 บ้านโป่ง เข้าใจว่าจะถ่ายในยุคจอมพล ป. เพราะทุกคนสวมหมวกตามคำสั่งท่านผู้นำ
เจ้าของภาพ : ยายฉวีรัตน์ เกษตรศิริ

รถดับเพลิงของเทศบาลเมืองบ้านโป่งลงไปสูบน้ำที่ริมฝั่งน้ำแม่กลองหน้าเมือง คงถ่ายก่อนจะมีการสร้างเขื่อนหน้าเมือง
เจ้าของภาพ : ยายฉวีรัตน์ เกษตรศิริ

ประวัติอำเภอบ้านโป่ง

ประวัติโดยย่อของอำเภอบ้านโป่ง

ตามจดหมายเหตุราชบุรี อำเภอบ้านโป่ง เดิมตั้งอยู่ที่ ตำบลท่าผา เรียกว่าอำเภอท่าผา ต่อมารัฐบาลได้สร้างทางรถไฟสายใต้ขึ้นและเห็นว่าถ้าหาก อำเภออยู่ที่ท่าผาแล้วการคมนาคมก็ไม่สู้สะดวก จึงให้ย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งที่ตำบลบ้านโป่ง เรียกว่า อำเภอบ้านโป่งสืบมาจนกระทั่งทุกวันนี้

บริเวณที่ตั้งอำเภอบ้านโป่งนี้ เดิมเป็นป่าโปร่งสัตว์ชอบมาอาศัย และกินดินโป่งเป็นอาหาร (ดินโป่งเป็นดินชนิดหนึ่งที่มีรสเค็ม) โดยเฉพาะสัตว์จำพวกเลียงผาชอบมาก ตามตำนานเก่าแก่เล่าว่าคำ " บ้านโป่ง" เดิมทีเดียวเรียกว่า " บ้านทับโป่ง " ซึ่งเล่ากันว่ามีกระท่อมหรือบ้าน (ทับ) อยู่ข้างดินโป่ง แต่ชาวบ้านนิยมเรียก "บ้านโป่ง" เพราะสะดวกและสั้นดีและต่อมาทางราชการก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอบ้านโป่งตามไปด้วย

อำเภอบ้านโป่ง เคยโอนไปอยู่กับจังหวัดกาญจนบุรีมาครั้งหนึ่งระหว่างสงครามมหาอาเซียบูรพา เมื่อ พ.ศ. 2484 และโอนกลับมาจังหวัดราชบุรีตามเดิม เมื่อ พ.ศ. 2489

ที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอบ้านโป่ง ตั้งอยู่ที่ถนนทรงพล ตำบลบ้านโป่ง (ในเขตเทศบาลเมืองบ้านโป่ง) มีระยะทางห่างจากจังหวัด 42 กิโลเมตร มีทางหลวงแผ่นดิน ผ่าน 2 สาย ชื่อ ทางหลวงแผ่นดินสาย 4 ( เพชรเกษม) และมีทางรถไฟผ่าน 3 สาย คือ ทางรถไฟสายใต้ ทางรถไฟสายหนองปลาดุก - สุพรรณบุรี และทางรถไฟสายหนองปลาดุก - กาญจนบุรี แม่น้ำสำคัญผ่าน 1 สาย ชื่อ แม่น้ำแม่กลอง

อำเภอบ้านโป่งมีพื้นที่ 390 ตารางกิโลเมตร
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอท่าม่วง อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี

ลักษณะภูมิประเทศ
เป็นที่ราบลุ่มโดยทั่วไปเป็นที่ทำนา ทำสวน ทำไร่ มีป่าและภูเขาในตำบลเขาขลุง ลำน้ำที่สำคัญ ลำน้ำที่เป็นประโยชน์ในด้านการเกษตร การคมนาคม และการบริโภค คือ แม่น้ำแม่กลอง เริ่มต้นจากแควใหญ่แควน้อย มาบรรจบกันที่ตัวจังหวัดกาญจนบุรี ไหลผ่านท้องที่อำเภอบ้านโป่งที่ตำบลลาดบัวขาว ตำบลท่าผา ตำบลเบิกไพร ตำบลบ้านโป่ง ตำบลปากแรต ตำบลคุ้งพยอม ตำบลสวนกล้วย ตำบลนครชุมน์ และตำบลบ้านม่วง มีระยะประมาณ 20กิโลเมตร

งาน ๑๑๑ อ.บ้านโป่ง

อำเภอบ้านโป่ง จ.ราชบุรี เตรียมจัดงาน 111 ปีเมืองบ้านโป่งและบ้านโป่งแฟร์ อย่างยิ่งใหญ่ที่สุดในรอบปี ทั้งการนำเสนออารยธรรมไทย จีน มอญ ที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน การอวดโฉม “ดีทรอยต์แห่งเมืองไทย” เมืองอู่ต่อรถบัสและอุปกรณ์ประดับยนต์ยักษ์ใหญ่ของเมืองไทย ที่สร้างรายได้อย่างมหาศาล รวมทั้งการซื้อขายปลาสวยงามจากแหล่งพันธุ์ปลาชั้นนำที่ชาวต่างชาตินิยมซื้อหากันตัวละนับล้านบาท
เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 13 พ.ย. 2550 ที่ห้องประชุมชั้น 10 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ นายวิโรจน์ แสงศิวะฤทธิ์ นายอำเภอบ้านโป่ง นายมหิศร มังคลรังษี รองนายก อบจ. ราชบุรี นายอุทัย เสียงแจ่ม ที่ปรึกษากลุ่มอุตสาหกรรมต่อรถโดยสารบ้านโป่ง นายสุทธิชัย อรรถบดีกุล ตัวแทนผู้ประกอบการปลาสวยงาม อ.บ้านโป่ง ร่วมกันแถลงข่าวงาน 111 ปีเมืองบ้านโป่งและบ้านโป่งแฟร์ ที่จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 29 พ.ย. – 5 ธ.ค. 2550 บริเวณ หน้าที่ว่าการอำเภอบ้านโป่ง จ.ราชบุรี
นายวิโรจน์ แสงศิวะฤทธิ์ นายอำเภอบ้านโป่ง กล่าวถึงวัตถุประสงค์การจัดงานว่า เพื่อเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา และแสดงความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจของ อ.บ้านโป่ง ทั้งด้านอุตสาหกรรมอู่ต่อรถบัส แหล่งเพาะพันธุ์ปลา รวมทั้งแสดงออกถึง 3 วัฒนธรรมอันดีงามที่อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข คือ ไทย จีน มอญ
โดยรูปแบบงานแบ่งเป็น 3 ส่วนหลัก คือ ลาน 3 วัฒนธรรมฟูเฟื่องมีการจำลองวิถีชีวิต การละเล่นพื้นเมือง กิจกรรมแสง สี เสียง สื่อผสมชุด “เล่าขานตำนานบ้านโป่ง เชื่อมโยง 3 วัฒนธรรม สองฝั่งลำแม่กลอง” ลานภูมิใจภักดิ์ รักในหลวง เปิดโอกาสให้ร่วมถวายความจงรักภักดี ในโอกาสปีมหามงคล และลานดีทรอยต์ ออฟ ไทยแลนด์ ที่เปรียบเสมือนยุคทองของบ้านโป่ง เมืองแห่งนักประดิษฐ์ แห่งอุตสาหกรรมต่อตัวถังรถบัส และแหล่งผลิตอุปกรณ์ประดับยนต์ที่มีชื่อเสียงระดับประเทศ

วันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2555

สถาที่ท่องเที่ยงใน อ.บ้านโป่ง

- อุทยานปลาและสวนผีเสื้อมนชิดา
-
บึงกระจับ
- บ้านโป่ง
- วัดม่วง พิพิธภัณฑ์วัดม่วง

สถาที่ท่องเที่ยงใน อ.ปากท่อ

- อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน

สถาที่ท่องเที่ยงใน อ.บางแพ

- อุทยานหุ่นขึ้ผึ้งสยาม

สถาที่ท่องเที่ยงใน อ.โพธาราม

- ค้างคาวร้อยล้านวัดเขาช่องพราน
- วัดขนอน (หนังใหญ่วัดขนอน)
- วัดถ้ำน้ำ
- วัดถ้ำสาริกา
-
วัดคงคาราม จิตรกรรมฝาผนังวัดคงคาราม
- ค่ายหลวงบ้านไร่
- ชุมชนวัดเจ็ดเสมียน

สถาที่ท่องเที่ยวใน อ.ดำเนินสะดวก

- วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
- ตลาดน้ำดำเนินสะดวก
-
ตลาดน้ำคลองลัดพลี
- ดำเนินสปายา
- ล่องเรือตามรอยเสด็จพระพุทธเจ้าหลวง
-
รอยัลไทย แฮนด์ดิคราฟ เซ็นเตอร์ (RTC)

สถาที่ท่องเที่ยวใน อ.จอมบึง

- ถ้ำจอมพล
-
สวนสัตว์เปิด สถานีวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาประทับช้าง

สถาที่ท่องเที่ยงใน อ.สวนผึ้ง

- เนินมหัศจรรย์ เขากระโจม
- น้ำตกผาแดง
- บ้านหอมเทียน
- โป่งยุบ
- ธารน้ำร้อนบ่อคลึง
-
น้ำตกเก้าชั้น หรือน้ำตกเก้าโจน
-
แก่งส้มแมว
- เขากระโจม
-
จุดชมวิวห้วยคอกหมู
- บ่อพุน้ำร้อนโป่งกระทิง
- อำเภอสวนผึ้ง
- พิพิธภัณฑ์ภโวทัย หรือ สวนภูมิปัญญาชาวบ้าน
- อุทยานธรรมชาติวิทยา ตามพระราชดำริ
-
เส้นทางขับรถเที่ยวไป อ.สวนผึ้ง
-
ไร่อุษาวดี

สถาที่ท่องเที่ยวใน อ.เมือง

- ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ราชบุรี
- วัดมหาธาตุวรวิหาร
- ถ้ำเขาบิน
- วัดหนองหอย
- วัดเขาวัง
- เขาแก่นจันทร์
- อุทยานหินเขางู
- ถ้ำฤาษีเขางู
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติราชบุรี
-
พระปรางค์วัดมหาธาตุวรวิหาร
- วัดช่องลม
-
เมืองโบราณคูบัว
- จิปาถะภัณฑ์สถานบ้านคูบัว
- สวนพฤกษาศาสตร์วรรณคดีภาคกลาง
- ศูนย์สืบทอดศิลปะผ้าจก
- ตลาดเก่าโคยกี๊
- เขาหลวง
-
พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
-
หลวงพ่อแก่นจันทน์
-
สวนสาธารณะจักรีอนุสรณ์สถาน
-
เขาน้อยเทียมจันทร์
-
เจดีย์หัก

บึงกระจับ

ตั้งอยู่ในเขตสองอำเภอ ได้แก่ อำเภอบ้านโป่ง และอำเภอโพธาราม แต่สะดวกที่จะเดินทางเข้าไปทางอำเภอบ้านโป่ง ในเส้นทางเบิกไพร-เขางู แล้วเลี้ยวซ้ายไปตามคลองชลประทาน ซึ่งอยู่ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 10 กม. บึงกระจับแห่งนี้เป็นบึงน้ำขนาดใหญ่ที่สุดในภาคตะวันตก และ จะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาน้ำจึดที่ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันตก

สระน้ำโกสินารายณ์

เป็นสระน้ำโบราณ ใกล้ที่ว่าการอำเภอบ้านโป่ง จากหลักฐานการค้นคว้าทางโบราณคดีแสดงว่าเคยเป็นเมืองโบราณมาแต่สมัยเก่าซึ่งได้ขุดพบพระกร ของพระโพธิสัตย์อวโลกิเตศวรทำด้วยหินทรายแดง 5 พระกรถือพระคัมภีร์ ลูกประคำ และดอกบัวกับพระบาทของพระโพธิสัตย์คู่หนึ่งซึ่งปัจจุบันนี้ได้ ประดิษฐานอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ

วันพุธที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2555

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดม่วง

ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านม่วง การเดินทางจากตัวเมืองราชบุรีไปตามทางหลวงหมายเลข 4 แล้วแยกเข้าไปอำเภอบ้านโป่ง ผ่านทางหลวงหมายเลข 3089 (โคกสูง-เบิกไพร) และข้ามสะพานแม่น้ำ แม่กลองไปเพียงเล็กน้อยก็จะถึงพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านม่วง พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านม่วงนี้เกิดขึ้นจากความร่วมมือของทางวัดม่วง และชาวบ้านบ้านม่วงร่วมกับมหาวิทยาลัยศิลปากร ที่จะให้เป็นแหล่ง ศึกษาค้นคว้าเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาวิถีชีวิตวัฒนธรรมของชุมชนท้องถิ่นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งจากบรรดาโบราณศิลปวัตถุ คัมภีร์ใบลาน รวมทั้งเครื่องมือเครื่องใช้ที่จัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์ ล้วนเป็นสิ่งที่แสดงถึงมรดกทางภูมิปัญญาท้องถิ่น และการจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดม่วงนี้ ได้จัดแบ่งเนื้อหาออกเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับความสำคัญของลุ่มน้ำแม่กลองในอดีต และจัดแสดงภาพถ่ายที่บอกเรื่องราวเกี่ยกับประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมท้องถิ่น ความสัมพันธ์ในด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมของชุมชนบ้านม่วงกับชุมชนตั้งแต่เขตอำเภอบ้านโป่ง อำเภอโพธาราม และชุมชนใกล้เคียง จัดแสดงเอกลักษณ์ของชาวมอญและเรื่องราวเกี่ยวกับวิถีชีวิตของชาวบ้าน พิพิธภัณฑ์ พื้นบ้านม่วงนี้เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00-17.00 น. ทางพิพิธภัณฑ์ฯ ไม่ได้เก็บค่าธรรมเนียมเข้าชม สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร (01) 316-0431

ฟุตบอลทีมชาติอังกฤษ

ฟุตบอลทีมชาติอังกฤษ ทีมฟุตบอลตัวแทนจาก ชาติอังกฤษ สำหรับในการแข่งขันฟุตบอลระหว่างชาติ ในการแข่งขันฟุตบอลโลก และ ฟุตบอลยูโร โดยทีมชาติอังกฤษเป็นไม่กี่ทีมที่ไม่มีสิทธิในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก เนื่องจากเหตุผลทางการเมืองที่ประเทศอังกฤษไม่ถือว่าเป็นประเทศ

เนื้อหา

 [ซ่อน

[แก้] ประวัติทีม

[แก้] ผลงาน

[แก้] ฟุตบอลโลก

ทีมชาติอังกฤษ ชนะเลิศฟุตบอลโลก 1 ครั้ง ใน ฟุตบอลโลก 1966 นับจากการแข่งทั้งหมด ทีมชาติอังกฤษ เข้าฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายทั้งหมด 12 ครั้ง (ฟุตบอลโลก 2006 เป็นครั้งที่ 12) ซึ่งอังกฤษเริ่มเล่นครั้งแรกใน ฟุตบอลโลก 1950 ซึ่งในครั้งแรกนั้นแม้จะผ่านรอบคัดเลือกแต่ตกรอบแรกไป ซึ่งหลังจากนั้นทีมอังกฤษผ่านรอบคัดเลือกมาตลอดทุกปีต่อเนื่องกัน จนกระทั่งชนะเลิศในฟุตบอลโลก 1966 แต่หลังจากนั้นใน ฟุตบอลโลก 1974, 1988 และ 1994 ทีมชาติอังกฤษไม่ผ่านรอบคัดเลือก โดยใน ฟุตบอลโลก 2006 ทีมชาติอังกฤษเข้าสู่รอบก่อนรองชนะเลิศและแพ้ ทีมชาติโปรตุเกสไปจากการดวลจุดโทษ และล่าสุด ฟุตบอลโลก 2010 ทีมชาติอังกฤษก็ต้องตกรอบตั้งแต่รอบ 16 ทีมสุดท้าย โดยแพ้ ทีมชาติเยอรมันไป 1-4 เมื่อวันอาทิตย์ที่ 27 มิถุนายนที่ผ่านมา

[แก้] ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป

  • 1960 - แชมป์
  • 1964 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
  • 1968 - อันดับ 3
  • 1972 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
  • 1976 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
  • 1980 - รอบแรก
  • 1984 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
  • 1988 - รอบแรก
  • 1992 - รอบแรก
  • 1996 - รอบรองชนะเลิศ
  • 2000 - รอบแรก
  • 2004 - รอบก่อนรองชนะเลิศ
  • 2008 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก

[แก้] อดีตผู้เล่นคนสำคัญ

[แก้] ผู้เล่นชุดปัจจุบันคนสำคัญ

[แก้] สถิติดาวยิง


#ชื่อช่วงเวลาประตูลงเล่น
1บ็อบบี ชาร์ลตัน1958 - 197049106
2แกรี ลินีเกอร์1984 - 19924880
3จิมมี กรีฟส์1959 - 19674457
4ไมเคิล โอเวน^1998 - 20064089
^ ยังคงเล่นอยู่

[แก้] เกร็ดข้อมูล

บ้านโป่ง

อำเภอบ้านโป่ง เป็นอำเภอสำคัญอำเภอหนึ่งในจังหวัดราชบุรี เดิมชื่อ อำเภอท่าผา ต่อมาได้ย้ายที่ว่าการอำเภอไปยังตำบลบ้านโป่งเพื่อให้ใกล้สถานีรถไฟบ้านโป่งมากขึ้น จึงเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอบ้านโป่ง ปัจจุบัน บ้านโป่งเป็นอำเภอเป็นศูนย์กลางความเจริญและการคมนาคมทางภาคตะวันตกของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์โดยสารที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการผลิตปลาสวยงามที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และมีสถานีชุมทางรถไฟที่แยกไปได้ถึงสามเส้นทาง

เนื้อหา

 [ซ่อน

[แก้] ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอบ้านโป่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือสุดของของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้

[แก้] การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้] การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอบ้านโป่งแบ่งเขตการปกครองย่อยเป็น 15 ตำบล 151 หมู่บ้าน ได้แก่

1.บ้านโป่ง(Ban Pong)9.นครชุมน์(Nakhon Chum)
2.ท่าผา(Tha Pha)10.บ้านม่วง(Ban Muang)
3.กรับใหญ่(Krap Yai)11.คุ้งพยอม(Khung Phayom)
4.ปากแรต(Pak Raet)12.หนองปลาหมอ(Nong Pla Mo)
5.หนองกบ(Nong Kop)13.เขาขลุง(Khao Khlung)
6.หนองอ้อ(Nong O)14.เบิกไพร(Boek Phrai)
7.ดอนกระเบื้อง(Don Krabueang)15.ลาดบัวขาว(Lat Bua Khao)
8.สวนกล้วย(Suan Kluai)

[แก้] ราชการในส่วนภูมิภาคของอำเภอ

  • ที่ทำการอำเภอบ้านโป่ง สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
  • สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบ้านโป่ง
  • กองกำกับการตำรวจภูธรบ้านโป่ง กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 7
  • กองกำกับการสืบสวนสอบสวนภาค 7 กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 7
  • กองกำกับการตำรวจภูธรตำบลกรับใหญ่ กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 7
  • สำนักงานที่ดินจังหวัดราชบุรี พื้นที่สาขาบ้านโป่ง
  • สำนักงานประกันสังคมจังหวัดราชบุรี สาขาบ้านโป่ง
  • สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2
  • สำนักงานโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษานครชุมภ์ กรมชลประทาน
  • สำนักงานสภาวัฒนธรรมอำเภอบ้านโป่ง ที่ตั้งโรงเรียนรัตนราษฎร์บำรุง
  • สำนักงานสรรพากรพื้นที่จังหวัดราชบุรี สาขาบ้านโป่ง
  • สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่จังหวัดราชบุรี สาขาบ้านโป่ง
  • สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบ้านโป่ง สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข
  • โรงพยาบาลบ้านโป่ง กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
  • สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดราชบุรี สาขาบ้านโป่ง
  • สำนักงานสัสดีจังหวัดราชบุรี เขตบ้านโป่ง จังหวัดทหารบกราชบุรี มณฑลทหารบกที่ 13
  • สำนักบริหารจัดการในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ที่ 5
  • สำนักงานประปาเขต 3 การประปาส่วนภูมิภาค
  • สำนักงานประปาบ้านโป่ง
  • การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคบ้านโป่ง
  • สถานีไฟฟ้าแรงสูงบ้านโป่ง 2 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
  • วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนี จักรีรัช (สถาบันสมทบในมหาวิทยาลัยมหิดล)
  • มหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง ศูนย์ให้การศึกษาโรงเรียนรัตนราษฎร์บำรุง
  • มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ศูนย์ให้การศึกษาโรงเรียนวัดดอนตูม
  • สำนักงานการค้าภายในจังหวัดราชบุรี สาขาบ้านโป่ง
  • สำนักงานขนส่งทางบกจังหวัดราชบุรี พื้นที่บ้านโป่ง
  • สำนักงานองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้บ้านโป่ง
  • สำนักงานศูนย์ส่งกำลังบำรุงชลประทานบ้านโป่ง
  • โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษานครชุม สำนักชลประทานที่ 13 กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

[แก้] การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอบ้านโป่งประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 17 แห่ง ได้แก่
  • เทศบาลเมืองบ้านโป่ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านโป่งทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลกระจับ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลหนองอ้อและบางส่วนของตำบลดอนกระเบื้อง
  • เทศบาลตำบลท่าผา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าผาทั้งตำบลและและบางส่วนของตำบลปากแรต
  • เทศบาลตำบลห้วยกระบอก ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลกรับใหญ่
  • เทศบาลตำบลกรับใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกรับใหญ่ (นอกเขตเทศบาลตำบลห้วยกระบอก)
  • เทศบาลตำบลเบิกไพร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเบิกไพรทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลปากแรต ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปากแรต (นอกเขตเทศบาลตำบลท่าผา)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกบ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองกบทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองอ้อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองอ้อ (นอกเขตเทศบาลตำบลกระจับ)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลดอนกระเบื้อง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดอนกระเบื้อง (นอกเขตเทศบาลตำบลกระจับ)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสวนกล้วย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสวนกล้วยทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนครชุมน์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนครชุมน์ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านม่วง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านม่วงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลคุ้งพยอม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคุ้งพยอมทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลาหมอ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองปลาหมอทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขลุง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขาขลุงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลลาดบัวขาว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลาดบัวขาวทั้งตำบล

[แก้] สถาบันการเงินและการลงทุน

  • 1.ธนาคารกรุงเทพ สาขาบ้านโป่ง สาขาย่อยบิ๊กซีบ้านโป่ง สาขาย่อยโลตัสบ้านโป่ง
  • 2.ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาบ้านโป่ง สาขาย่อยบิ๊กซีบ้านโป่ง สาขาย่อยโลตัสบ้านโป่ง สาขาย่อยสามแยกกระจับ
  • 3.ธนาคารออมสิน สาขาบ้านโป่ง
  • 4.ธนาคารกรุงไทย สาขาบ้านโป่ง
  • 5.ธนาคารกสิกรไทย สาขาบ้านโป่ง สาขาย่อยโลตัสบ้านโป่ง สาขาย่อยถนนประชานิยม
  • 6.ธนาคารธนชาต สาขาบ้านโป่ง สาขาถนนทรงพล
  • 7.ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาบ้านโป่ง สาขาห้วยกระบอก
  • 8.ธนาคารทหารไทย สาขาบ้านโป่ง
  • 9.ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาบ้านโป่ง
  • 10.ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ศูนย์บ้านโป่ง
  • 11.ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย สาขาบ้านโป่ง
  • 12.ธนาคารเมกะ สากลพาณิชย์ สาขาบ้านโป่ง
  • 13.บริษัท หลักทรัพย์แอคคินสัน จำกัด (มหาชน) สาขาบ้านโป่ง/ภาคตะวันตก
  • 14.บริษัท หลักทรัพย์ยูโอบี เคเฮี้ยน จำกัด (มหาชน) สาขาบ้านโป่ง/ภาคตะวันตก
  • 15.บริษัท กรุงเทพบริหารทรัพย์สิน จำกัด (มหาชน) สาขาบ้านโป่ง
  • 16.บริษัท หลักทรัพย์ธนชาติ จำกัด (มหาชน) สาขาบ้านโป่ง

[แก้] ศาสนสถานสำคัญ

  • 1.วัดบ้านโป่ง เป็นวัดประจำอำเภอปัจจุบันมี พระพิศาลพัฒนโสภณ เป็นเจ้าอาวาส และเป็นเจ้าคณะอำเภอบ้านโป่งด้วย
  • 2.วัดดอนตูม เป็นวัดอีกวัดประจำ อ.บ้านโป่ง ที่มีประวัติความเก่าแก่มาแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ด้วย อีกทั้งภายในวัดมี พระพุทธสิหิงค์ ( จำลอง ) และพระพุทธฉาย (เงาของพระพุทธเจ้า) อีกทั้งมีอดีตเจ้าอาวาส คือ พระครูอินทคุณาวสัย ( ตัน อังฺกุโร )อดีตเจ้าอาวาสที่เป็นที่เคารพนับถือของพุทธศาสนิกชนด้วย
  • 3.วัดใหญ่นครชุมน์ เป็นวัดประจำของชาวมอญฝั่งตะวันออกของแม่น้ำแม่กลอง
  • 4.วัดบ้านม่วง เป็นวัดที่เป็นศูนย์กลางของวัฒนธรรมมอญในประเทศไทยและลุ่มน้ำแม่กลองด้วย
  • 5.วัดท่าผา เป็นวัดที่เป็นศูนย์กลางประจำตำบลท่าผา ซึ่งมีปฐมเจ้าอาวาสผู้ทรงวิทยาคมลุ่มแม่น้ำแม่กลอง อีกทั้งเป็นพระนักพัฒนาด้วย นั้นคือ หลวงปู่เชย อดีตเจ้าอาวาส
  • 6.วัดโพธิ์รัตนาราม เป็นวัดหลักของตำบลปากแรต
  • 7.โบสถ์คาทอลิก วัดนักบุญยอแซฟ บ้านโป่ง
  • 8.โบสถ์คาทอลิก อัครเทวดามีคาแอล ดอนกระเบื้อง
  • 9.โบสถ์คาทอลิก นักบุญมาคารีตา บางตาล
  • 10.โบสถ์คาทอลิก แม่พระถวายองค์ในพระวิหาร ลูกแก
  • 11.โบสถ์คาทอลิก นักบุญเทเรซา ห้วยกระบอก
  • 12.โบสถ์คาทอลิก นักบุญฟาเบียน ห้วยลึก
  • 13.มัสยิดกลางประจำอำเภอบ้านโป่ง
  • 14.ศาลเจ้าแม่บ้านโป่ง เป็นที่เคารพสักการะของชาวบ้านโป่ง
  • 15.ศาลเจ้าแม่ทับทิม เป็นที่เคารพสักการะของชาวท่าผาและชาวตลาดบ้านโป่ง
  • 16.ศาลเจ้าแม่เบิกไพร เป็นที่เคารพสักการะของชาวบ้านโป่ง
  • 17.วัดจันทาราม ต.หนองอ้อ เป็นที่ประดิษฐาน หลวงพ่ออโนทัย พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านโป่งและที่อื่นให้ความเคารพอย่างมาก
  • 18.วัดบ้านฆ้องน้อย เป็นวัดที่อยู่ในเขต ต.ท่าผา และเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธอำนวยพรชินสีห์มุนีนาถ ( พระประธาน ) ประจำอุโบสถเฉลิมพระเกียรติ 60 ปี 80 พรรษา ที่กำลังจัดสร้างอยู่ปัจจุบันนี้ด้วย
  • 19.วัดประชารังสรรค์ เป็นวัดที่อยู่ในเขต ต.ท่าผา และเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธอู่ทองทัต พระพุทธรูปองค์ใหญ่ประจำ จ.ราชบุรี ซึ่งกำลังก่อสร้างอยู่ในปัจจุบันนี้
  • 20.วัดไผ่สามเกาะ เป็นวัดที่อยู่ในเขตตำบลเขาขลุง เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปเก่าแก่ พระพุทธศากยมุนีศรีรัตนโกสินทร์ และเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวเขาขลุงทุกคน

[แก้] อาชีพ

  1. อุตสาหกรรมขนาดเล็ก ขนาดกลาง ขนาดใหญ่ รวม400กว่าแห่ง
    • อุตสาหกรรมอู่ต่อรถโดยสารขนาดใหญ่ เป็นแหล่งรวมอู่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ
    • อุตสาหกรรมผลิตน้ำตาล
    • อุตสาหกรรมผลิตผงชูรส
    • อุตสาหกรรมผลิตเยื่อและกระดาษ
    • อุตสาหกรรมผลิตกระจก
    • อุตสาหกรรมเหล็ก
    • อุตสาหกรรมเซรามิก
  1. เกษตรกรรม
    • พืชไร่ โดยเฉพาะอ้อย รองรับกับความต้องการวัตถุดิบของโรงงานน้ำตาล
  1. พาณิชยกรรม
  2. การบริการ

[แก้] ห้างสรรพสินค้า

  1. บิ๊กซี
  2. เทสโก้ โลตัส/ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์
  3. ตลาดโลตัส
  4. TMK Supermarket
  5. ซีเจซุปเปอร์มาร์เก็ต
  6. พีพีสโตร์

[แก้] การคมนาคม

อ.บ้านโป่ง อยู่ห่างจากกรุงเทพ ฯ ประมาณ 75 กม. อยู่ห่างจาก จ.กาญจนบุรี 47 กม. อยู่ห่างจาก จ.นครปฐม 25 กม. อยู่ห่างจาก จ.ราชบุรี 42 กม. โดยสามารถเดินทางมาได้ ดังนี้
  1. ทางรถยนต์ จากกรุงเทพ ฯ ใช้ ถนนเพชรเกษม ( ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 ) วิ่งตรงผ่าน จ.นครปฐม และเข้าสู่แยกวัดจันทร์ - สระกระเทียม เข้าสู่ อ.บ้านโป่ง ที่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 323 และตรงสู่ อ.บ้านโป่ง
  2. ทางรถไฟ มีแยกเป็น 3 สาย
    1. สายใต้ สุดปลายทางที่อำเภอสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส ขึ้นรถไฟได้ที่สถานีรถไฟบ้านโป่ง
    2. สายสุพรรณบุรี แยกออกจากชุมทางหนองปลาดุก สุดปลายทางที่จังหวัดสุพรรณบุรี ขึ้นรถไฟได้ที่สถานีรถไฟชุมทางหนองปลาดุก
    3. สายน้ำตก แยกออกจากชุมทางหนองปลาดุก สุดปลายทางที่อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งเส้นทางนี้คือจุดเริ่มของทางรถไฟสายมรณะ ขึ้นรถไฟได้ที่สถานีรถไฟบ้านโป่ง แห่งที่ 2 ถนนทรงพล
  3. ทางน้ำ /แม่น้ำแม่กลอง
  4. การเดินทางมายังอำเภอบ้านโป่ง มีรถออกจากสถานีขนส่งผู้โดยสารสายใต้ ทุกวัน เวลา 05.30-23.30 น. ทุก 10-20 นาที ค่าโดยสาร 46-55 บาท ประกอบด้วยบริษัท บ้านโป่งทัวร์ จำกัด บริษัท กาญจนบุรีทัวร์ จำกัด

[แก้] โรงพยาบาล

  1. โรงพยาบาลบ้านโป่ง เป็นโรงพยาบาลทั่วไปขนาด 480 เตียง สังกัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นโรงพยาบาลประจำอำเภอขนาดใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ มีแพทย์-ทันตแพทย์ประจำกว่า 60 คน และมีบุคลากรมากกว่า 400 คน ปฏิบัติงานที่นี่
  2. โรงพยาบาลซานคามิลโล ของเอกชน ขนาด 100 เตียง
  3. โรงพยาบาลวัฒนเวช ของเอกชน
  4. โรงพยาบาลอินทร ของเอกชน (ปัจจุบันยกเลิกการดำเนินงานแล้ว)
  5. บ้านสิทธิดา - ศูนย์พัฒนาการเด็กพิการ โดย มูลนิธิคณะนักบุญคามิลโลแห่งประเทศไทย เป็นองค์กรการกุศลอย่างแแท้จริง ซึ่งให้บริการเด็กพิการที่กำพร้า ยากไร้ ขาดแคลน โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางเครือข่ายการให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนเด็กพิการในพื้นทีอำเภอบ้านโป่ง

[แก้] สถานที่ท่องเที่ยว

  1. บึงกระจับ เป็นบึงน้ำจืดขนาดใหญ่ตั้งอยู่ในบริเวณวัดบึงกระจับ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดขนาดใหญ่เป็นบึงน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภาคตะวันตก บางช่วงจะมีการนำเจ็ตสกีมาเล่น
  2. อุทยานปลาสวยงาม ซึ่งบ้านโป่งมีตลาดปลาสวยงามขนาดใหญ่จำนวนมากเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ขนาดใหญ่
  3. สระน้ำโกสินารายณ์ ซึ่งมีเมืองโบราณโกสินารายณ์ด้วย อยู่ภายในเขตโรงงานกระดาษเครือเอสซีจี พื้นที่สาธารณะปัจจุบันจึงเหลือเพียงส่วนของสระน้ำเท่านั้น
  4. พิพิธภัณฑ์วัดม่วง เป็นสถานที่เกี่ยวกับวัฒนรรมของชาวมอญซึ่งมีอยู่มากในอำเภอบ้านโป่ง

[แก้] สถาบันอุดมศึกษา

  1. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช
  2. มหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง วิทยาเขตรัตนราษฎร์บำรุง
  3. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา วิทยาเขตดอนตูม

[แก้] โรงเรียน

  1. โรงเรียนสารสิทธิ์พิทยาลัย โรงเรียนเอกชนชายล้วนคาทอลิก ในเครือคณะซาเลเซียน
  2. โรงเรียนวัดดอนตูม
  3. โรงเรียนนารีวุฒิ
  4. โรงเรียนอุดมวิทยา
  5. โรงเรียนธีรศาสตร์
  6. โรงเรียนเทพินทร์พิทยา
  7. โรงเรียนเทพวิทยา
  8. โรงเรียนรัตนราษฎร์บำรุง โรงเรียนรัฐบาล
  9. โรงเรียนดุสิตวิทยา
  10. โรงเรียนหนองปลาหมอวิทยาคม
  11. โรงเรียนบ้านโป่งวิทยาคม
  12. โรงเรียนวัดบ้านโป่ง "สามัคคีคุณูปถัมภ์"
  13. โรงเรียนฮกเฮง โรงเรียนเอกชนจีนแห่งแรกของอำเภอบ้านโป่ง
อ้างอิง http://www.wikipedia.com/